ของใช้เด็กแรกเกิด เด็กแรกเกิดเป็นวัยที่ต้องให้ความสำคัญกับการนอนหลับพักผ่อนเป็นอันดับหนึ่ง เพราะการนอนเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการสร้างเซลล์สมอง พัฒนาการ รวมถึงการเจริญเติบโตของพวกเขา ซึ่งสิ่งที่จะช่วยให้การนอนของพวกเขามีคุณภาพก็คือที่นอนเด็กแรกเกิดดี ๆ สักชิ้น เพื่อให้ลูกน้อยได้มีพื้นที่ส่วนตัวและสามารถนอนหลับได้โดยปราศจากสิ่งรบกวน อีกทั้งยังเป็นการปรับสรีระในการนอนของเด็กทารกให้เหมาะสมอีกด้วยครับในปัจจุบัน ที่นอนเด็กแรกเกิดนั้นถูกดีไซน์ออกมาหลากหลายรูปแบบและมีจำหน่ายมากมายตามท้องตลาด ทั้งนี้ก็เพื่อรองรับน้ำหนักและสรีระของเด็กที่มีความแตกต่างกัน โดยในวันนี้เราได้รวบรวมวิธีการเลือกที่นอนเด็กแรกเกิดที่พ่อแม่มือใหม่สามารถนำไปใช้ได้ พร้อมกับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเด็กโดยเฉพาะ อีกทั้งยังมี 10 อันดับ ที่นอนเด็กแรกเกิดมาให้ทุกคนได้พิจารณา หากพร้อมแล้วไปดูกันเลยครับ
ที่นอน ของใช้เด็กแรกเกิด
ของใช้เด็กแรกเกิด เพราะที่นอนเป็นปัจจัยสำคัญและเป็นสิ่งที่ชี้วัดถึงคุณภาพในการนอนหลับของเด็กทารก ดังนั้นการเลือกที่นอนจึงต้องใช้ความพิถีพิถันมากเป็นพิเศษ เพื่อให้ได้ที่นอนคุณภาพดีและเหมาะสมสำหรับเด็กแรกเกิดมากที่สุดครับ
1.เลือกที่นอนเด็กแรกเกิดตามลักษณะของที่นอน
ที่นอนเด็กนั้นมีหลายรูปแบบทั้งรูปทรงไข่ เบาะราบ เบาะเอนได้ หรืออาจจะแบ่งตามชนิดวัสดุที่ใช้ผลิต เช่น ที่นอนเมมโมรี่โฟม ยางพารา เป็นต้น หลักการเลือกที่นอนนั้นควรคำนึงถึงสรีระและพัฒนาการของทารกในแต่ละวัย หากอายุไม่เกิน 4 เดือน ควรเลือกเบาะที่ไม่นุ่มยวบมากเกิน เนื่องจากคอทารกที่ยังไม่แข็งแรงนั้นอาจพับงอ ส่งผลให้ท่อลมคอตีบแคบได้ หากทารกพลิกตัว ขอบที่นูนขึ้นมาข้างศีรษะอาจกดใบหน้า จนขาดออกซิเจนและอาจเสียชีวิตได้สัดส่วนขนาดศีรษะทารกจะใหญ่เมื่อเทียบกับลำตัว หากเลือกที่นอนชนิดเอนหรือชนิดแผ่นรองศีรษะและหลังชันสูง ศีรษะจะถูกดันมาด้านหน้าส่งผลให้คอก้มพับและทางเดินหายใจจึงอาจถูกกดเช่นกัน นอกจากนี้ ยังควรคำนึงถึงความสามารถในการระบายอากาศและการป้องกันไรฝุ่นของที่นอน เพื่อลดการอับชื้นและการเกิดผื่นแพ้ด้วยครับ
2.เลือกที่นอนเด็กแรกเกิดที่ไม่แข็งหรือไม่นิ่มเกินไป
ที่นอนที่แข็งมากเกินไปจะส่งผลให้ทารกปวดเมื่อยตัว นอนหลับไม่สบาย และอาจสะดุ้งตื่นจากอาการปวดตัวหรือแขนชาได้ แต่หากเลือกที่นอนที่นิ่มมากเกินไป นอกจากปัญหาการอุดกั้นทางเดินหายใจจากคอที่พับงอหรือการกดทับใบหน้าจากเบาะรอบศีรษะที่ยกนูนแล้ว ยังอาจเกิดปัญหาปวดเมื่อยจากน้ำหนักที่ทิ้งลงกลางลำตัวเพียงจุดเดียวจากท่านอนที่โค้งคล้ายตัว “U” ในเบาะที่นิ่มเกินผู้เขียนจึงแนะนำให้เลือกวัสดุที่ทารกนอนแล้วสรีระราบตรง อ่อนนุ่มในระดับปานกลาง เช่น วัสดุยางพารา เมมโมรี่โฟม หรือเส้นใยที่หนาแน่นในระดับที่เหมาะสม เพื่อการพักผ่อนที่มีประสิทธิภาพ เพราะทารกที่พักผ่อนที่ไม่เพียงพอจะส่งผลต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตที่ช้าได้ครับ
3.ตรวจสอบที่นอนเด็กแรกเกิดให้พอดีกับน้ำหนักตัวและสรีระของเด็ก
ตรวจสอบที่นอนเด็กแรกเกิดให้พอดีกับน้ำหนักตัวและสรีระของเด็กตามหลักการพัฒนาของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของทารกนั้น เด็กที่อายุน้อยกว่า 4 เดือน จะยังไม่สามารถพลิกคว่ำตัวได้ ดังนั้นขนาดที่นอนจึงไม่จำเป็นต้องมีเนื้อที่ใหญ่เกินเพื่อรองรับการพลิกตัวหรือคลาน ขอแนะนำให้ผู้ปกครองเลือกเบาะที่มีความหนาแน่นเหมาะกับน้ำหนักทารก ไม่แข็งหรือนิ่มจนเกินไป และไม่บางจนสามารถสัมผัสพื้นใต้เบาะได้ เพราะทารกอาจปวดเมื่อย ดังนั้นจึงควรคำนึงถึงความกว้าง ความยาว ความหนา ความหนาแน่น น้ำหนักเบาะ และวัสดุที่เหมาะสมครับ
ควรใช้ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกหรือผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กโดยเฉพาะดี
รู้หรือไม่ วิธืเลือกของใช้เด็กแรกเกิดกับกระแส ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก เทรนด์ในปัจจุบัน ที่คุณแม่อาจกำลังเข้าใจผิด และเป็นเหยื่อการตลาดโดยไม่รู้ตัวปฏิเสธไม่ได้จริงๆ ว่าเทรนด์ที่กำลังมาแรงในช่วงนี้สำหรับผลิตภัณฑ์สินค้าสำหรับเด็กเล็ก หรือของใช้เด็กแรกเกิดในท้องตลาดนั้น มักเป็นผลิตภัณฑ์ที่บอกว่าเป็นของใช้เด็กออร์แกนิก ด้วยภาพลักษณ์ที่เข้าใจได้ง่ายว่าปลอดภัยและดีต่อสุขภาพของเด็กมากกว่าสินค้าทั่วไป ดังนั้นเมื่อพูดถึงผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก คุณแม่ทุกคนก็น่าจะเข้าใจตรงกันว่า คือผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ อ่อนโยน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก เหล่านั้นปลอดภัยกับสุขภาพของลูกจริง ๆ
เพราะสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับวิธีเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของใช้เด็ก เช่น สบู่ แชมพู หรือโลชั่นสำหรับเด็กนั้น ก็คือความปลอดภัย ส่วนผสมต้องไม่ใช้สารเคมีรุนแรงและควรผ่านการทดสอบแล้วว่าไม่ก่อให้เกิดความระคายเคือง ดังนั้น คุณแม่จึงควรสังเกตส่วนประกอบจากฉลากผลิตภัณฑ์ของใช้เด็กให้ละเอียด มากกว่าการยึดติดกับคำว่าออร์แกนิก ที่อาจถูกหยิบมาใช้เพื่อผลประโยชน์ทางการตลาด และเป็นกระแสที่มาแรงมีการรับรองคุณภาพที่น่าเชื่อถือสิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้คุณแม่มั่นใจได้มากขึ้นนั่นก็คือ การดูว่าสินค้าที่เรากำลังจะซื้อนั้น ผ่านการรับรองคุณภาพจากสถาบัน หรือบุคคลที่น่าเชื่อถือหรือไม่ สังเกตได้ง่ายมากจากฉลากหรือตราสัญลักษณ์รับรองบนผลิตภัณฑ์ ซึ่งในขั้นตอนนี้คุณแม่สามารถเช็กซ้ำได้ด้วยตัวเอง จากการนำข้อมูลที่ระบุไว้บนผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นชื่อหรือสถาบันรับรอง ไปค้นหาอีกครั้งในอินเทอร์เน็ต ของใช้เด็กแรกเกิด